5 กิจกรรมสนุก สร้างสรรค์ แถมได้ภาษา

5 กิจกรรมสนุก สร้างสรรค์ แถมได้ภาษา

     การใช้เกมมาประกอบกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนในวัยเด็กนั้น เป็นวิธีที่เหมาะสม เพราะเกมที่มีความสนุกสนาน จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ และตั้งใจในการเรียนรู้มากขึ้น ทำให้การเรียนรู้ของเด็กนั้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งการใช้เกม สามารถปรับเปลี่ยนระดับความยากง่าย ให้ขึ้นอยู่กับระดับผู้เรียน และนำไปปรับใช้กับผู้เรียนในวัยอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้อีกด้วย

     การสร้างเกมนั้นทำได้ไม่ยาก แต่การสร้างเกมที่มีคุณภาพที่ทำให้ได้ทั้งความสนุกสนาน และความรู้ควบคู่กันไปได้อย่างลงตัวนั้น อาจต้องอาศัยเทคนิคบางประการ ในการสร้างเกม เพราะหากไม่คำนึงถึงปัจจัยบางอย่าง อาจทำให้เกมที่สร้างขึ้นขาดความสนุกสนาน ความท้าทาย รวมไปถึงขาดประสิทธิภาพ ในการเรียนรู้อีกด้วย

    ลองมาดูกันว่า เทคนิคการสร้างเกมที่ดีนั้นเป็นอย่างไร ต้องคำนึงถึงปัจจัยใดบ้าง กับ 5 เทคนิค วิธีการสร้างเกมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก อย่างมีประสิทธิภาพ



1. ขอบเขตของเนื้อหา
   แน่นอนว่าเราไม่สามารถทำให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษในทุกๆ เรื่อง เข้ามาอยู่ในเกมเพียงเกมเดียวได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกเนื้อหา สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษในเรื่องใด จากการเล่นเกมครั้งนี้ เช่น คำศัพท์ ประเภทของคำประโยค โครงสร้างไวยากรณ์ เป็นต้น เมื่อทำการเลือกหัวข้อแล้ว จะได้ขอบเขตของเนื้อหาที่จะมาใช้สร้างเกมในลำดับถัดไป

 
2. กฎและกติกา
   ต่อมาสิ่งที่ต้องคำนึงคือเงื่อนไขในการชนะเกม การกำหนดเงื่อนไขในการชนะเกม จำเป็นต้องสร้างกฎของเกมหรือกติกาขึ้นมานั่นเอง โดยการตั้งกฎหรือกติกานั้น ต้องคำนึงถึงระดับความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก กติกาจะต้องไม่มีความยากหรือง่ายจนเกินไป และต้องมีความสมเหตุสมผล คำนึงถึงความเป็นจริงและขีดจำกัดด้านความสามารถของผู้เรียน


3. ความยุติธรรม
   เกมแต่ละเกมนั้น สามารถสร้างให้ผู้เล่นเล่นแบบรายบุคคล หรือแบบกลุ่ม แบบทีมก็ได้ แต่เกมที่ดีควรส่งเสริมให้ผู้เล่นได้ร่วมมือกันเป็นทีม เพราะจะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นไปในทางที่ดีมากขึ้น และในเรื่องของความสามารถ หากเราจัดให้ผู้เรียนที่มีทักษะสูง อยู่คละกันกับผู้เรียนที่ขาดทักษะ จะทำให้เกิดการช่วยเหลือ และทำให้ผู้เรียนที่ขาดทักษะเรียนรู้ได้มากขึ้น จากผู้เรียนที่มีทักษะสูง ที่อยู่ในทีมเดียวกันได้

4. ส่งเสริมการเล่นเป็นทีม

   เกมแต่ละเกมนั้น สามารถสร้างให้ผู้เล่นเล่นแบบรายบุคคล หรือแบบกลุ่ม แบบทีมก็ได้ แต่เกมที่ดีควรส่งเสริมให้ผู้เล่นได้ร่วมมือกันเป็นทีม เพราะจะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นไปในทางที่ดีมากขึ้น และในเรื่องของความสามารถ หากเราจัดให้ผู้เรียนที่มีทักษะสูง อยู่คละกันกับผู้เรียนที่ขาดทักษะ จะทำให้เกิดการช่วยเหลือ และทำให้ผู้เรียนที่ขาดทักษะเรียนรู้ได้มากขึ้น จากผู้เรียนที่มีทักษะสูง ที่อยู่ในทีมเดียวกันได้  

5. ของรางวัล
   ในเกมทุกเกม ต้องมีฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ และฝ่ายที่พ่ายแพ้ การมอบรางวัลให้กับฝ่ายที่ชนะนั้น จะเป็นการกระตุ้นอย่างดีให้กับผู้เรียนทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่ชนะก็ได้เชยชมกับของรางวัล เป็นผลตอบแทนความพยายามที่ชนะเกม ส่วนฝ่ายพ่ายแพ้นั้น จะเกิดการกระตุ้นให้พยายามมากขึ้นในการเล่นเกมครั้งถัด ๆ ไป ของรางวัลที่มอบให้นั้น ไม่จำเป็นต้องมีมูลค่าสูง เพราะคุณค่าของรางวัลแห่งชัยชนะไม่ได้มาจากราคา แต่มาจากความพยายาม ที่สามารถเล่นเกมจนชนะต่างหาก


     จะเห็นว่าการสร้างเกมที่ดีนั้น มีหลายปัจจัยให้ต้องคำนึง ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานที่ต้องคำนึงเท่านั้น ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงที่ละเอียดอ่อนมากกว่า แต่ต้องเจาะจงไปในแต่ละกรณี เช่น สภาพร่างกาย และสภาพจิตใจของผู้เรียน ความพร้อมของอุปกรณ์หรือสถานที่ งบประมาณที่ใช้ในการจัดเตรียม ข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี และอื่นๆ หากเราต้องสร้างเกมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กสักเกมหนึ่ง อาจต้องใช้เวลา แต่หากทำสำเร็จแล้ว สามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างไม่สิ้นสุด ทำให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเด็กๆ  นั้น ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป และเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ในที่สุด

#ยืนหนึ่งเรื่องกิจกรรมอังกฤษแบบอินเตอร์
#Classy English

Visitors: 1,185,836